ปุจฉา-วิสัชนา
ตำรา

คำถาม
คำตอบ
ตำราที่เขียนให้มหาวิทยาลัยเปิด จะนำมาขอตำแหน่งทางวิชาการได้หรือไม่
ได้ แต่ผู้ขอต้องเขียน 5 หน่วย จึงจะเทียบเท่ากับการเขียนตำรา 1 เล่ม ทั้งนี้เนื้อหาสาระของตำราทั้ง 5 หน่วย ต้องมีความสัมพันธ์กันและอยู่ในขอบข่ายสาขาวิชาที่เสนอขอ
ตำราต้องตีพิมพ์จึงจะขอกำหนดตำแหน่งใช่หรือไม่
ไม่จำเป็น อาจจะถ่ายสำเนาเย็บเล่มได้ แต่ควรจัดทำเป็นรูปเล่มให้ดูดีและที่สำคัญต้องมีลักษณะรูปแบบตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด และต้องมีการรับรองการเผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษรจากต้นสังกัด
ตำราแบบ E-leaning ต้องส่งอะไรบ้าง
ส่ง CD และส่งเอกสารที่ประกอบการเรียนมา
ผลการพิจารณาให้ปรับปรุงตำราหรือ หนังสือควรยึดความสำคัญเรื่องอะไร
น่าจะยึดหลักว่าการปรับปรุงตำราหรือหนังสือเป็นการปรับปรุงที่ทำได้ภายใน
3 เดือน ดังนั้นข้อควรปรับปรุงน่าจะเป็นเรื่องความไม่สมบูรณ์ของการอ้างอิง
บางเรื่อง การสะกดการันต์ที่ผิดมาก การเขียนชื่อผิด การลำดับเนื้อหาผิดไปบ้าง ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดที่ไม่ใช่เนื้อหาหลัก
ตำราที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งไม่ได้เขียนทั้งเล่ม แต่เขียนเป็นบท ๆ จะเสนอเป็นงานหนังสือได้หรือไม่
ได้ แต่ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
  • ระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์หรือรองศาสตราจารย์ ตำราต้องมีลักษณะรูปแบบตามเกณฑ์ที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดไว้สำหรับตำราก่อน โดยงานที่เสนออาจจะเป็น 1 บท หรือหลายบทรวมกันก็ได้และต้องมีจำนวนหน้าไม่ต่ำกว่า
    20 หน้า
    ถ้าเขียนหลายบทต้องเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกัน
  • ระดับศาสตราจารย์ ตำราต้องมีลักษณะรูปแบบตามเกณฑ์ที่สภามหาวิทยาลัย กำหนดไว้ก่อน ตำราอาจจะเป็น 1 บท หรือหลายบทรวมกันก็ได้ถ้าเขียนหลายบทต้องเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกัน และต้องมีจำนวนหน้าไม่ต่ำกว่า 30 หน้า นอกจากนี้ต้องมีการสอดแทรกประสบการณ์หรือผลงานวิจัยของผู้เสนอขอ
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    หนังสือเวียน
    และมติที่ประชุมคณะวุฒยาจารย์
    con1